ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา
สถานศึกษา ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอทุ่งช้าง
สถานที่ตั้ง ตั้งอยู่
ณ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอทุ่งช้าง โรงเรียนบ้านทุ่งอ้าว(เดิม)
หมู่ที่ ๑ ถนนสาย น่าน – ทุ่งช้าง ตำบลและ อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน รหัสไปรษณีย์ ๕๕๑๓๐ โทรศัพท์ ๐๘๑๙๕๒๔๒๐๖
โทรสาร ๐๕๔๗๙๕๑๒๖
Website http://thungchangnan.blogspot.com/
สังกัด สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดน่าน สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
กระทรวงศึกษาธิการ
ประวัติความเป็นมาของสถานศึกษา
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน จัดตั้งขึ้นตามประกาศ
ของกระทรวงศึกษาธิการ
เมื่อปีงบประมาณ ๒๕๓๗ ให้เป็นสถานศึกษาในราชการส่วนกลาง สังกัด กรมการศึกษานอกโรงเรียน
กระทรวงศึกษาธิการ โดยมี นายกฤษดา
ศรีใจวงศ์ เป็นผู้บริหารสถานศึกษา
เป็นคนแรก รับผิดชอบสถานศึกษา คือ
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอทุ่งช้าง และห้องสมุดประชาชนอำเภอทุ่งช้าง และมีศูนย์การเรียนชุมชนทุกตำบล
คือ ตำบลทุ่งช้าง ตำบลและ ตำบลงอบ และตำบลปอน
บริการงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ให้กับประชาชนส่วนใหญ่เป็นผู้ด้อยโอกาสและติดชายแดนทั้งพื้นที่ราบและชาวเขา
จำนวน ๔ ตำบล
๔๐ หมู่บ้าน
ในปี พ.ศ ๒๕๔๙ ได้ย้ายสำนักงานมาอยู่ที่โรงเรียนบ้านทุ่งอ้าว(เดิม)ซึ่งยุบเลิก
ที่อยู่ในปัจจุบันต่อมาในวันที่ ๑๐
มีนาคม ๒๕๕๑
ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอทุ่งช้าง ได้เปลี่ยนชื่อเป็น ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอทุ่งช้าง
ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ และตั้งแต่
วันที่ ๙ กรกฏาคม ๒๕๕๑ ได้มี นาง ณัฏฐนิช รัตนนนท์ไชย มาเป็นผู้บริหารสถานศึกษาจนถึง ปัจจุบัน
อาณาเขต
ศูนย์ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
อำเภอทุ่งช้าง ใช้อาคารโรงเรียนทุ่งอ้าวเดิม มีพื้นที่ประมาณ ๘ ไร่ ๒ งาน
ประกอบด้วย อาคารทั้งหมด ๑ หลัง ๗ ห้อง
มีอาณาเขตดังนี้
ทิศเหนือ ติดกับวัดไชยคำ
ทิศใต้ ติดกับหมู่บ้านทุ่งอ้าว
ทิศตะวันออกติดกับป่าชุมชน
ทิศตะวันตกติดกับ ถนน สาย น่าน-ปอน
สภาพทั่วไปของอำเภอทุ่งช้าง
อำเภอทุ่งช้าง มีประชากรทั้งหมด
๑๔,๗๐๙ คน
แบ่งเป็น ชาย ๗,๔๒๗ คน เป็นหญิง ๗,๒๘๒
คน
(ข้อมูล ณ
วันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๕๕) แบ่งการปกครองออกเป็น ๔ ตำบล คือ
ตำบลทุ่งช้าง ตำบลและ ตำบลงอบ ตำบลปอน แต่ละตำบลแบ่งการปกครอง รวมทั้งสิ้น ๔๐ หมู่บ้าน มีหน่วยบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ๕ แห่ง คือ เทศบาลตำบล จำนวน ๑ แห่ง คือ เทศบาลตำบลทุ่งช้าง และองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน
๔ แห่ง ดังนี้
๑. องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งช้าง
๒. องค์การบริหารส่วนตำบลและ
๓.
องค์การบริหารส่วนตำบลงอบ ๔. องค์การบริหารส่วนตำบลปอน พื้นที่ทั่วไป
ส่วนใหญ่เป็นภูเขา คิดเป็นร้อยละ ๙๖ ประชากรมีหลายชนเผ่ารวม ๗ ชนเผ่า ได้แก่ ชนพื้นเมือง เผ่าไทลื้อ
เผ่าม้ง เผ่าลั๊วะ
เผ่าขมุ เผ่าถิ่น
เผ่าเหาะ จะมีที่ราบเฉพาะบริเวณที่อยู่อาศัยและพื้นที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมบางส่วน
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นลักษณะสูงชัน อำเภอทุ่งช้าง และประชาชน
นับถือศาสนาพุทธ แม่น้ำและลำห้วย ที่ไหลผ่าน
คือ แม่น้ำน่าน ลำน้ำและ ลำน้ำเลียบ
ลำน้ำงอบ ลำน้ำหลุ ลำน้ำแงน ลำน้ำปอน มีประเพณีและกิจกรรมที่สำคัญ คือ ประเพณีตักบาตรเทโวโรหนะตานก๋วยสลาก
จัดในเดือน พฤศจิกายน จัดทุกตำบล ประเพณีวัฒนธรรมไทลื้อ งานปี๋ใหม่เมือง (วันสงกรานต์)
จัดในวันที่ ๑๓-๑๕
เมษายน ของทุกปี งานนมัสการพระธาตุภูเพียง (วันสำคัญทางศาสนา) จัดในเดือน พฤษภาคม – มิถุนายน
(วันวิสาขบูชา) งานปีใหม่ม้ง จัดในเดือนธันวาคม – มกราคม
ที่บ้านมณีพฤกษ์ ตำบลงอบ บ้านนำสอด ตำบลและ บ้านปางแก ตำบลทุ่งช้าง งานกินดอกดำ ดอกแดง ชาวไทภูเขา เช่น เผ่าถิ่น
ม้ง ขมุ เหาะ
การเลี้ยงผีเมือง ผีประจำตระกูล ผีไร่ ผีนา และกิจกรรมงานรำลึกวีรชน อนุสรณีย์ พตท. วันที่ ๓
กุมภาพันธ์ ของทุกปี ณ บริเวณ อนุสรณีย์ ตำบลทุ่งช้าง
เป็นการรำลึกถึงวีระชนทหารกล้าที่พลีชีพปกป้องแผ่นดินไทย
ทำเนียบผู้บริหาร
ลำดับที่
|
ชื่อ - สกุล
|
ตำแหน่ง
|
ระยะเวลาที่
ดำรงตำแหน่ง
|
๑
|
นายกฤษดา ศรีใจวงศ์
|
ผอ.กศน.อำเภอทุ่งช้าง
|
๒๕๓๗ – ๓๑ ก.ค. ๒๕๔๗
|
๒
|
นายยอดยิ่ง ฟ้าสาร
|
ผอ.กศน.อำเภอทุ่งช้าง
|
๑ ส.ค. ๒๕๔๗ – ๑๑ พ.ย. ๒๕๕๐
|
๓
|
นายพีระพงษ์ มหาวงศนันท์
|
ผอ.กศน.อำเภอทุ่งช้าง
|
๑๒ พ.ค.๒๕๕๐– ๒๔ ม.ค. ๒๕๕๑
|
๔
|
นายถนอม อุ่นอก
|
ผอ.กศน.อำเภอทุ่งช้าง
|
๒๕ ม.ค.๒๕๕๑-๑๐
ก.ค. ๒๕๕๑
|
๕
|
นางณัฎฐนิช รัตนนนท์ไชย
|
ผอ.กศน.อำเภอทุ่งช้าง
|
๑๑ ก.ค. ๒๕๕๑ – ๑๓ ก.พ.๒๕๕๘
|
๖
|
นายศักดิ์อุดม วรรณทวี
|
ผอ.กศน.อำเภอทุ่งช้าง
|
๑๗ ก.พ.๒๕๕๘ – ปัจจุบัน
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น